ความหมายของความฉลาดทางอารมณ์
องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์
ความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์
การประเมินความฉลาดทางอารมณ์และประสิทธิภาพของอารมณ์
การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
หน้าหลักสืบค้น
|
มีการศึกษาและพัฒนาเครื่องมือในการวัดความฉลาดทางอารมณ์หลากหลายเครื่องมือ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบวัดใหม่ ๆ ที่เริ่มพัฒนาไม่นานนัก จึงยังไม่มีการยอมรับว่ามีคุณสมบัติเป็นแบบทดสอบด้านจิตใจที่มีมาตรฐานได้ เนื่องจากมีการวัดความแม่นยำของเครื่องมือไม่มากนัก ตัวอย่างของเครื่องมือในการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ มีดังนี้
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย ( 2542, หน้า 94 - 95) ได้กล่าวถึงเครื่องมือวัดความฉลาดทางอารมณ์ ได้แก่
- แบบวัดที่ให้รายงานตนเอง (self-report EQ measure) เช่น
- Trait meta-mood scale ของสโลเวย์และคณะ(อ้างถึงใน วีระวัฒน์ ปันนิตามัย, 2542, หน้า 94) ประกอบด้วยข้อคำถาม 48 ข้อ 3 องค์ประกอบ
- ความเอาใจใส่ต่ออารมณ์ความรู้สึก
- ความชัดเจนในการแยกแยะอารมณ์ความรู้สึก
- การปรับสภาวะอารมณ์
- Emotional control questionnaire สร้างโดย Roger และ Najarian (อ้างถึงใน วีระวัฒน์ ปันนิตามัย, 2542, หน้า 94) เป็นแบบประเมินความสามารถในการควบคุมตนเองของผู้ตอบแบบประเมินฉบับย่อประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 32 ข้อ 4 มิติ ได้แก่
- การย้ำคิด
- การยับยั้งชั่งใจ
- การควบคุมตนเอง
- การควบคุมความก้าวร้าว
- แบบทดสอบ EQ ตัวอย่างเช่น
- Baron emotional quotient inventory (Baron EQ-I) สร้างขึ้นเมื่อปี 1992 เป็นเครื่องมือที่เก่าแก่ที่สุด สร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบของมาตราวัด EQ มีองค์ประกอบ 5 หมวด 15 ด้าน จำนวน 130 ข้อความ และอีก 3 ข้อ เป็นข้อตรวจสอบความเที่ยงตรงของการตอบโดยผู้ตอบพิจารณาแต่ละข้อความว่าใช่ตนเอง ในระดับใน 1- ไม่ใช่ตนเอง ไปจนถึง 5- เป็นจริง เกี่ยวกับตนเอง โดยให้เวลาตอบประมาณ 30-40 นาที แบบทดสอบประกอบด้วย
- องค์ประกอบภายในตัวบุคคล
- องค์ประกอบด้านระหว่างบุคคล
- องค์ประกอบด้านความสามารถในการปรับตัว
- องค์ประกอบทางภาวะอารมณ์โดยทั่วไป
- EQ Map สร้างโดย Cooper and Sawaf (อ้างถึงใน วีระวัฒน์ ปันนิตามัย, 2542, หน้า 95) เป็นแบบวัดทักษะทางด้านความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร โดยให้คิดทบทวนเหตุการณ์ในรอบระยะเวลาที่ผ่านมาว่าคิด รู้สึกอย่างไร แบบทดสอบมีองค์ประกอบ 5 หมวด 21 ด้าน ประกอบด้วยข้อคำถาม 259 ข้อ ได้แก่
- ด้านสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน
- ด้านความรอบรู้ด้านสภาวะอารมณ์
- ด้านสมรรถนะของเชาว์อารมณ์
- ด้านความเชื่อและค่านิยมด้านเชาว์อารมณ์
- ด้านผลของเชาว์อารมณ์
การแปลผลของแบบทดสอบนี้ ยังมีปัญหาเกี่ยวกับตัวแปรทางวัฒนธรรมร่วมกับยังขาดการตรวจสอบความจริงใจ ความเที่ยงตรงในการตอบของผู้ตอบแบบสอบถาม
- Emotional competence inventory-ECI สร้างโดย Goldman (อ้างถึงใน
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย, 2542, หน้า 95) เป็นการวัดความฉลาดทางอารมณ์เชิงสถานการณ์เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบว่าตนจะแสดงออกเช่นไร จากตัวเลือก 4 ตัวเลือกซึ่งเป็นแบบประเมินที่พัฒนาจาก Self-assessment questionnaire ของโบยัทซิส (อ้างถึงใน วีระวัฒน์ ปันนิตามัย, 2542, หน้า 95)
กระทรวงสาธารณสุข, กรมสุขภาพจิต (2546, หน้า 6) การวัดอีคิวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ไม่มีแบบมาตรฐานที่แน่นอน เป็นเพียงการประเมินเพื่อให้ผู้วัดมองเห็นความบกพร่องของความสามารถทางอารมณ์ที่ต้องพัฒนาแก้ไข กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ โดยประเมินจากความสามารถหลัก 3 ด้าน คือ ดี เก่ง สุข ซึ่งแยกเป็นด้านย่อยได้ 9 ด้าน ดังนี้
ดี
- ควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง
- เห็นใจผู้อื่น
- รับผิดชอบ
เก่ง
- รู้จักและมีแรงจูงใจในตนเอง
- ตัดสินใจและแก้ปัญหา
- มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
สุข
- ภูมิใจในตนเอง
- พึงพอใจในชีวิต
- มีความสุขสงบ
จากการศึกษาเครื่องมือประเมินความฉลาดทางอารมณ์ ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัย มีความเห็นว่า การประเมินความฉลาดทางอารมณ์ มีการประเมินอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ การเป็นคนดี การเป็นคนเก่ง และเป็นคนที่มีความสุข
อ้างอิงจาก
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2542). เชาวน์อารมณ์ (EQ): ดัชนีวัดความสุข และ ความสำเร็จ ของชีวิต (พิมพ์ครังที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพิมพ์เอ็กซ์เปอร์เน็ต.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมสุขภาพจิต. (2546). สุขภาพจิตไทย พ.ศ. 2545-2546.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
|